สังเกตตัวเอง รู้สึกเสียดายของ ทิ้งของไม่ลง
โรคทิ้งของไม่ลง หรือ เสียดายของ เป็นอาการที่เกิดจากสภาพจิตใจ คนส่วนใหญ่มักจะเป็นกัน แต่น้อยคนนักที่จะรู้ตัวว่าเป็น หลายคนที่มีบ้านหลังใหญ่โตสวยงาม แต่กลับเก็บของไว้จนเต็มบ้านรกไปหมด จากของที่จะเอาไว้สะสมกลายเป็นขยะ แทนซะงั้น มาสังเกตกันว่าเรามีพฤติกรรมแบบนี้กันหรือเปล่า
สิ่งของสะสมที่มักจะพบบ่อย
1. ถ่านไฟฉาย
เชื่อว่าหลายคนชอบเป็นกัน กับการที่ซื้อถ่ายไฟฉายมาใช้ แต่เมื่อใช้จนถ่านหมดแล้ว กลับยังเก็บถ่ายไฟฉายไว้อีก เพราะคิดว่าสักวันจะต้องได้เอากลับมาใช้งานได้อีก แต่ก็ไม่เคยได้เอามาใช้ ถึงแม้จะเคยได้ยินว่ามีวิธีที่ต่ออายุให้ถ่านไฟฉายสามารถกลับมาใช้งานได้อีกครั้ง เพราะสุดท้ายก็ไปซื้อก้อนใหม่มาใช้เหมือนเดิม พอหันกลับไปมองก็เห็นมีอยู่หลายก้อนเป็นกองขยะรกบ้านไปซะแล้ว
2. แปรงสีฟัน
สำหรับแปรงสีฟันที่ใช้ไปนานๆเริ่มเก่า ได้เวลาเปลี่ยนแปรงใหม่แล้ว แต่เมื่อซื้อแปรงใหม่มาใช้ กลับไม่ยอมทิ้งแปรงเก่าไป เพราะคิดว่าจะเก็บไว้ใช้ประโยชน์ได้อีก เช่น เอาไว้ขัดซอกเล็กๆที่สกปรกในห้องน้ำ หรือไว้ทำความสะอาดอะไรสักอย่างในอนาคต แต่คุณเคยนับไหมว่าเคยได้เอามาใช้จริงๆสักครั้งไหม
3. หนังสือเรียนเก่า
หลายคนชอบเป็นกับการรู้สึกเสียดายของ อย่างหนังสือเรียนเก่าๆที่เรียนจบไปแล้ว แต่ก็ยังเก็บไว้เต็มบ้าน จะทิ้งก็เสียดาย คิดแต่ว่าสักวันคงได้เอาออกมาอ่านอีก ความรู้ทั้งนั้นจะทิ้งไปได้ไง สุดท้ายก็กองเต็มบ้านเป็นภูเขา แต่ไม่เคยได้เอากลับมาอ่านอีกสักที
4. รองเท้าเก่า
รองเท้าคู่เก่า ที่อาจเกิดการชำรุดจากการใช้งานที่หนัก หรือมีตำหนินิดหน่อย แต่ก็ยังใส่ได้อยู่ แต่ก็ไม่เคยได้เอามาใส่อีก แต่กลับเก็บไว้เต็มตู้เก็บรองเท้า เพราะคิดว่าคงเอากลับมาซ่อมและได้ใช้งานอีกสักโอกาสแหละ
5. กล่องกระดาษ
คิดว่าหลายคนต้องเป็นแน่ๆ เวลาที่มีคนซื้อของขวัญห่อใส่กล่องมาให้ หรือเวลาที่สั่งของทางออไลน์ แล้วเขาส่งของห่อใส่กล่องมา เมื่อแกะของออกมาแล้ว ก็นึกเสียดายกล่อง กะว่าจะเก็บไว้เผื่อได้ห่อของขวัญให้ใครอีก จะได้ไม่ต้องไปหากล่องใส่ให้ยุ่งยาก จนเก็บไว้ล้นห้อง แต่ก็ไม่เคยได้ใช้ประโยชน์อย่างที่คิดไว้
สิ่งของเหล่านี้ เป็นเพียงสิ่งของของคนส่วนใหญ่ทั่วๆไปที่มักจะเก็บไว้ ไม่กล้าที่จะเอาไปทิ้ง ทั้งๆที่ก็ไม่ได้ใช้ประโยชน์จากมันแล้ว ซึ่งก็อาจจะเข้าข่ายการเป็นโรคเสียดายของได้ ยังมีของอีกหลายอย่างเช่นกัน ที่ผู้คนชอบเก็บสะสมไว้
อาการของคนที่เป็นโรคเก็บสะสมของ
– ไม่กล้าตัดสินใจทิ้งข้าวของ และมีความกังวลเมื่อต้องทิ้งข้าวของ
– รู้สึกทน ทุ ก ข์ กับการเป็นเจ้าข้าวเจ้าของอย่างมาก
– จัดเรียงข้าวของให้เป็นระเบียบได้ยาก
– ไม่สามารถดำเนินชีวิตโดยปกติได้ เช่น แยกตัวออกจากสังคม หรือการไม่มีพื้นที่อยู่อาศัย เพราะของที่เยอะเกินไป
– ไม่ไว้ใจ กลัวคนอื่นจะมาแตะต้องข้าวของตัวเอง
ผลกระทบต่อการใช้ชีวิตของโรคนี้
1. เป็น อั น ต ร า ย ต่อสุขภาพของผู้ ป่ ว ย และคนรอบข้าง จากการที่ที่อยู่อาศัยรก ทำให้ห้องกลายเป็นแหล่งสะสมเชื้อโรคในที่สุด
2. ส่งผลกระทบต่อจิตใจของผู้ ป่ ว ย และคนรอบข้าง ผู้ ป่ ว ย จะไม่ชอบให้คนอื่นมายุ่งกับข้าวของของเขา และคนที่อาศัยอยู่ด้วยก็อาจ ป่ ว ย สะสม ทะเลาะกัน และทำให้ความสัมพันธ์ทั้งสองฝ่ายแย่ลง
3. รบกวนการใช้ชีวิตประจำวัน เพราะข้าวของที่มีเยอะจนเกินไป จนผู้ ป่ ว ย และคนรอบข้างไม่สามารถใช้งานห้องนั้นได้อย่างเต็มที่ ของวางกระจัดกระจายรกห้องไปหมด
ให้คุณลองสังเกตตัวเองและคนรอบข้างดู ว่ามีอาการเหล่านี้บ้างหรือไม่ หากพบว่าเราหรือคนรอบข้างมีอาการที่ใกล้เคียง ให้รีบไปปรึกษาจิตแพทย์เพื่อที่จะได้ทำการรักษาได้อย่างถูกวิธี เพราะอาการเหล่านี้มันบ่งบอกถึงสภาพจิตใจของคนนั้นๆ มันทำให้ประสิทธิภาพการตัดสินใจและการใช้เหตุผลที่ดีลดลง และยังรบกวนการใช้ชีวิตประจำวันอีกด้วย